เราคิดว่า นักเรียน ไม่จำเป็นต้องมีสิทธิ์ที่จะตัดทรงอะไรก้ได้ มันมากเกินไปครับบ ไม่ค่อยเหมาะกับวัยเรียนหนังสือ และวัฒนธรรมไทยด้วย ^^
แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นรองทรงสูงสำหรับ ม. ต้น รองทรงต่ำสำหรับ ม.ปลาย ผุ้หญิงก้ อาจจะยาวไม่เกินบ่า สำหรับ ม ต้น และ ผมยาวไม่เกินกลางหลัง สำหรับเด็ก ม ปลาย และต้องจัดทรงให้ดูดี เรียบร้อย ห้ามย้อม อะไรก้ว่าไป แต่ทรงเกรียน (สำหรับ นร ธรรมดา ไม่เกี่ยวกะ รด) นี่น่าจะไม่ค่อยเหมาะนะครับ เพราะส่วนตัวผมคิดว่า ทรงนี้ มองสักกี่รอบๆก้รู้สึกแปลกๆคับบ ^^ ผู้หญิงผมสั้นติ่งหู ก้ไม่ค่อยเหมาะกับวัย ม.ปลายนะคับบ
ปล. เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะคับบ ^^
แต่มีข้อมูลอีกอันนึงที่เคยโพสไปแล้ววมาให้เพื่อนดูกันอีกครั้งคับบ(ถ้าเคยอ่านแล้วก็ ขออภัยด้วย ^^)
เค้าเป็นอาจารย์ใน รร แห่งหนึ่ง ได้แสดงความคิดเห็นกับทรงเกรียน และแนวทางแก้ไขบางแนวทางไว้ว่า
สำหรับความคิดเห็นของผู้เขียนเอง ผู้เขียนคิดว่าการปล่อยให้นักเรียนไว้ผมตามใจชอบ หรือการออกระเบียบให้นักเรียนไว้ผมทรงที่หลายคนเรียกว่า “ ทรงหัวเกรียน” ตามระเบียบของทางกระทรวงฯ มีทั้งข้อดีและข้อเสียตามที่ผู้รู้หลายท่านได้กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนคิดว่าเราคนไทยเราควรมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย นอกเหนือไปจากการมีภาษาเป็นของตนเอง เรามีชุดไทยที่สวยงามสง่า แต่เราก็เลือกสวมใส่เฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ เท่านั้น ผู้เขียนคิดว่าเราควรสร้างเอกลักษณ์ไทยตั้งแต่เด็ก ด้วยการให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไว้ผมจุก ผมเปีย ผมโก๊ะ และผมแกละ ตามแบบเด็กไทยสมัยโบราณ ซึ่งก็น่ารักดีเหมาะสมกับวัย ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไปจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไว้ผมทรงอเมริกัน (ทรงหัวเกรียน) เ พราะเด็กวัยนี้มีกิจกรรมมาก การไว้ผมสั้นง่ายต่อการรักษาความสะอาด ส่วนนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 เริ่มเป็นหนุ่มน้อยแล้วอาจต้องการให้เพศตรงข้ามสนใจดังนั้นควรไว้ผมทรงรอง ทรงสูงซึ่งรักษาความสะอาดได้ง่ายและยังหล่ออีกต่างหาก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นหนุ่มแล้วแต่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนกลาง ควรไว้ผมทรงรองทรงต่ำ เพราะดูดีและทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง เหมาะสมกับวัยนี้มาก นักศึกษาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยควรให้แต่งกายสุภาพและไว้ผมตามใจชอบ
อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติของสถานศึกษา ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไป ไม่ใช่คอยแต่จะจ้องจับผิดว่าเด็กไว้ผมผิดจากระเบียบหรือไม่ คอยแต่จะใช้กรรไกรตัดผมเด็กที่ทำผิดระเบียบ ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับความอับอาย มีปมด้อย เป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก ครู ควรพูดคุยกับเด็กโดยใช้เหตุผลกรณีที่เด็กทำผิดระเบียบ ไม่ควรมีการลงโทษโดยการใช้วิธีที่ป่าเถื่อนอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาในบาง โรงเรียน
โดย เอกรัตน์จันทิมา