Author Topic: ประเทศไทยไม่ได้มีคนจนมากอย่างที่คิดนะ  (Read 2966 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline PLOY >_<

  • AFSer Honor Graduate
  • *
  • Posts: 1185
  • Gender: Female
  • ★*PLOY*★
    • My Facebook
  • Exchange In: United States
  • Generation: #48 (2009-2010)

ที่นี่มีแต่คนคิดว่าประเทศไทยยากจนมากๆ :th_058_: :th_058_:

-------------------------------------------
ดร.โสภณ พรโชคชัย

ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

คนจนคือชนกลุ่มน้อยนิดในประเทศไทย! จากข้อมูลของ CIA ระบุว่าประเทศไทยมีคนจนอยู่เพียง 10% ของประชากรทั้งประเทศ  แล้วทำไมบางคนยังเข้าใจว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจนอยู่อีก เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตอนคุณรสนา โตสิตระกูลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ ตอบโต้กับคุณปลื้ม ก็ยังอ้างว่าประชาชนไทย 70% ยากจน  เรามี "คนยากจน" หรือ "คนอยากจน" จำนวนมากกันแน่ คนที่มักวาดภาพว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจนนั้นเป็นเพราะความเข้าใจผิดหรือมีวาระ ซ่อนเร้นอะไร เรามักชอบเอาคนจนหรือความจนมาอ้างหรือไม่

ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้

ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งที่เชื่อถือได้ต่างระบุสอดคล้องกันว่าประชากรไทยที่ยากจนคืออยู่ต่ำ กว่าเส้นความยากจนมีเพียง 9-10% โดยประมาณ แม้แต่เมื่อปี 2505 ประชากรไทยที่ถือว่ายากจนก็มีเพียงครึ่งหนึ่ง (57%) ไม่ใช่ 70% เช่นที่เข้าใจกัน และหลังจากนั้นประชากรที่ยากจนก็เป็นคนส่วนน้อยมาโดยตลอด

โปรดดูแผนภูมิที่ 1: ต่อไปนี้ :


จากชุดข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ระบุว่า ณ ปี 2549 จำนวนคนจนลดเหลือ 9.6% ของคนไทยทั้งประเทศ หรือ 6.1 ล้านคนจาก 63.4 ล้านคน ช่องว่างความยากจนก็ลดลง ความรุนแรงของปัญหาความยากจนก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในการลงทะเบียนคนจนในสมัยรัฐบาลทักษิณปรากฏว่ามีผู้ลงทะเบียน ถึง 8,258,435 คนหรือ 13.2%  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรวม "คนอยากจน" เข้าไว้ด้วย แต่ก็ยังถือว่าคนเหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย

สำหรับรายละเอียดรายได้ต่อหัวของสภาพัฒน์ฯ พบว่า เส้นความยากจนในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ที่รายได้ 2,020 บาทต่อหัวต่อเดือน หมายความว่าในครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวมีรายได้ประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน หากต้องเลี้ยงคู่ครองที่ไม่มีรายได้และลูกอีก 2 คน ถือว่าเป็นคนยากจน แต่ถ้าเป็นในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นความยากจนอยู่ที่ 1,215 บาท ที่กำหนดไว้ต่ำกว่าก็เพราะค่าครองชีพถูกกว่าและชาวชนบทยังสามารถหาผักปลาจาก แหล่งธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้เงินอีกด้วย

โปรดดูตารางที่ 1: ต่อไปนี้:


ประเทศไทยดีขึ้นกว่าแต่ก่อน

ที่ว่าคนไทยที่ยากจนมีเพียง 10% นั้น ไม่ใช่ไปตีความแบบศรีธนญชัยว่า 90% เป็นคนรวย นอกจากคนยากจนแล้ว ยังมี "คนเกือบจน" คือผู้ที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20% อีก 8.2% แสดงว่าประชากรส่วนใหญ่ของไทยมากกว่า 80% ไม่ใช่คนยากจนอย่างแน่นอน และในอีกด้านหนึ่งประเทศไทยมี "คนจนค่นแค้น" หรือมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนเกินกว่า 20% เหมือนกัน แต่มีเพียง 3.8% เท่านั้น

การที่ประเทศไทยมีคนจนน้อยลงอย่างเด่นชัดก็เพราะได้พัฒนาจากประเทศ เกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว  ในปี 2494 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ถึง 38% มาจากภาคเกษตรกรรม แต่ในปี 2548 เหลือเพียง 10% ในขณะที่ GDP ภาคอุตสาหกรรมเติบโตจาก 14% เป็น 38% ในช่วงเวลาเดียวกัน สินค้าออกสำคัญในอดีตคือข้าว ยางพารา ไม้สัก แต่ทุกวันนี้ได้แก่ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า รถยนต์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามประชากรไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในชนบท ซึ่งต่างจากประเทศที่จนกว่าไทย เช่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง ทั้งนี้มีเหตุผลที่ผู้คนมักไม่ทราบก็คือ ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเกาะ ประชากรจึงมักต้องอยู่ในเขตเมืองท่า แต่ประเทศไทยมีผืนดินติดต่อกันเป็นป่าไม้อันอุดม จึงมีการบุกรุกถากถางป่ากันมากมาย ประมาณว่าหมู่บ้านชนบท 70,000 หมู่บ้าน ครึ่งหนึ่งเกิดเมื่อ 50 ปีหลังนี้เอง

เมื่อ 50 ปีก่อน แอปเปิล 1 ผลราคา 5 บาท แต่ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 10 บาท ครัวเรือนใดมีโอกาสรับประทานทุเรียนหรือมีโทรทัศน์ถือว่าเป็นผู้มีฐานะ แต่เดี๋ยวนี้คนไทยมีกินมีใช้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน อัตราการฆ่าตัวตายที่หลายคนคิดว่าเพิ่มขึ้นก็กลับลดลง และอยู่ในอัตราต่ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกเสียอีก โดยในปี 2549 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 5.7 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน เป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2548 ที่ 6.3 คน ปี 2547 ที่ 6.9 คน และปี 2546 ที่ 7.1 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และหากเปรียบเทียบกับทั่วโลก อัตราการฆ่าตัวตายของไทยจัดอยู่อันดับที่ 72 จาก 100 ประเทศ

การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

ในภูมิภาคอาเซียน ประเทศที่ถือว่าไม่มีคนยากจนก็คือบรูไนและสิงคโปร์ ส่วนมาเลเซียดีกว่าไทยคือมีคนยากจนเพียง 5.1% สำหรับประเทศที่มีคนยากจนถึงหนึ่งในสามก็คือกัมพูชา พม่า ลาวและฟิลิปปินส์ ในกรณีประเทศเวียดนามซึ่งเพิ่งสำรวจล่าสุดเมื่อปี 2550 พบว่ามีคนยากจนเพียง 14.8% ดังนั้นถ้าใครจะคิดว่าไทยมีคนจนมากกว่าเวียดนามก็คงต้องคิดใหม่ หรือถ้าคิดว่าคนไทยยากจนเป็นส่วนใหญ่ก็คงเข้าใจว่าเราแย่กว่ากัมพูชาหรือ พม่าเสียอีก

โปรดดูตารางที่ 2: ต่อไปนี้:


สำหรับกรณีชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของคนยากจนเป็นส่วนใหญ่ เพราะสภาพัฒน์ฯ ระบุว่า คนยากจนในกรุงเทพมหานครมีไม่ถึง 1% เท่านั้น หรือต่ำกว่าหนึ่งในร้อย ดังนั้นหากพบใครในกรุงเทพมหานครบอกว่าตนเองยากจน แสดงว่าเขาพูดเล่น โกหกหรือพูดโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบว่า ในชุมชนแออัด ยังมีมือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่นซีดี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กันเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากกว่า 1 หน่วยในครัวเรือนหนึ่งอีกด้วย

ผลร้ายของความคลาดเคลื่อน

การมีข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จะสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักบริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก็ควรมีข้อมูลและความเชื่อที่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง การจงใจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนย่อมก่อความเสียหาย เช่น การที่ NGO บางแห่งเคยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จอย่างร้ายแรงว่า ประเทศไทยมีโสเภณี 2 ล้านคน ทำให้พจนานุกรมลองแมน เคยให้คำจำกัดความของกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครแห่งโสเภณีในปี 2536  จะสังเกตได้ว่านักเคลื่อนไหวทางสังคมมักพยายามโฆษณาว่าปัญหาที่ตนเกี่ยวข้อง อยู่มีขนาดใหญ่ ด้วยหวังให้สังคมให้ความสนใจ และให้ความช่วยเหลือ แต่น่าเสียดายที่ทุกคนก็ใช้วิธีเดียวกันจนเฝือ สังคมเลย “มึน” และกลับคิดว่าปัญหาทั้งหลายนั้นสุดแก้ไข กลายเป็นปัญหาโลกแตกไป

รัฐบาลทักษิณที่ผ่านมา ก็ได้รับข้อมูลเท็จจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ชุมชนแออัดซึ่งเข้าใจว่าเป็นที่อยู่อาศัยของคนจนมีจำนวนมหาศาล โดยระบุว่าในประเทศไทยมีการบุกรุกที่ดินถึง 5,000 ชุมชน รวม 1.6 ล้านครอบครัว  จนเกิดโครงการ "บ้านเอื้ออาทร" และ "บ้านมั่นคง" แต่ความจริง ความต้องการที่อยู่อาศัยมีน้อยมาก สิ่งที่สร้างขึ้นกลับกลายเป็นการ "เอื้ออาทร" ต่อผู้รับเหมาและผู้ร่วมทุนโครงการมากกว่า แทนที่จะสร้างบ้านตามความต้องการจริง กลับสร้างตามความต้องการลวง หรือสร้างเกินกว่าความต้องการจนขายไม่ออก

คนที่ดีใจถ้าประเทศไทยมีคนจนเพิ่มขึ้น ก็คงมีแต่พวก NGO ลักษณะองค์กรนอกกฎหมายบางแห่งโดยเฉพาะที่รับเงินต่างชาติมาเคลื่อนไหวหรือทำ กิจกรรม เพราะจะได้มีงานทำไปเรื่อย ๆ ผมว่าเราต้องรักศักดิ์ศรีของชาติและของคนไทย ต้องพัฒนาประเทศให้คนไทยหายจน ถ้าเรามัวคิดว่าเรายากจนและติดกรอบคิดแบบคนยากจนอยู่เรื่อย เมื่อไหร่ไทยเราจะลืมตาอ้าปากได้

คนไทยจน ๆ เป็นคนส่วนน้อย โปรดอย่านำมาแอบอ้างหากิน

หมายเหตุ :

ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ที่ทำวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับชุมชนแออัด โดยเป็นคนแรกที่ค้นพบชุมชนแออัดถึง 1,020 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสำรวจชุมชนแออัดในภูมิภาคทั่วประเทศ เคยได้รับมอบหมายจากองค์การสหประชาชาติหลายหน่วยงานให้ศึกษาเกี่ยวกับการ พัฒนาเมืองและชุมชนแออัด เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ ยังเป็น ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (IAAO) ประจำประเทศไทย และกรรมการสภาที่ปรึกษา Appraisal Foundation ซึ่งก่อตั้งโดยสภาคองเกรสเพื่อการควบคุมการประเมินค่าทรัพย์สินใน สหรัฐอเมริกา

CREDIT:http://www.southhpp.org/paper/1834

 :th_058_: :th_058_:




L'Arts TU :D

E-mail [email protected]

Offline PLOY >_<

  • AFSer Honor Graduate
  • *
  • Posts: 1185
  • Gender: Female
  • ★*PLOY*★
    • My Facebook
  • Exchange In: United States
  • Generation: #48 (2009-2010)
อยากรู้ประเทศอะไรก็ CTRL + F

credit: https://www.cia.gov
Field Listing :: Population below poverty line     
Print Page PRINT
National estimates of the percentage of the population falling below the poverty line are based on surveys of sub-groups, with the results weighted by the number of people in each group. Definitions of poverty vary considerably among nations. For example, rich nations generally employ more generous standards of poverty than poor nations.
Country
   Population below poverty line(%)
Afghanistan    53% (2003)
Albania    25% (2004 est.)
Algeria    23% (2006 est.)
American Samoa    NA%
Andorra    NA%
Angola    40.5% (2006 est.)
Anguilla    23% (2002)
Antigua and Barbuda    NA%
Argentina    23.4% (January-June 2007)
Armenia    26.5% (2006 est.)
Aruba    NA%
Australia    NA%
Austria    5.9% (2004)
Azerbaijan    24% (2005 est.)
Bahamas, The    9.3% (2004)
Bahrain    NA%
Bangladesh    45% (2004 est.)
Barbados    NA%
Belarus    27.1% (2003 est.)
Belgium    15.2% (2007 est.)
Belize    33.5% (2002 est.)
Benin    37.4% (2007 est.)
Bermuda    19% (2000)
Bhutan    31.7% (2003)
Bolivia    60% (2006 est.)
Bosnia and Herzegovina    25% (2004 est.)
Botswana    30.3% (2003)
Brazil    31% (2005)
British Virgin Islands    NA%
Brunei    NA%
Bulgaria    14.1% (2003 est.)
Burkina Faso    46.4% (2004)
Burma    32.7% (2007 est.)
Burundi    68% (2002 est.)
Cambodia    35% (2004)
Cameroon    48% (2000 est.)
Canada    10.8%; note - this figure is the Low Income Cut-Off (LICO), a calculation that results in higher figures than found in many comparable economies; Canada does not have an official poverty line (2005)
Cape Verde    30% (2000)
Cayman Islands    NA%
Central African Republic    NA%
Chad    80% (2001 est.)
Chile    18.2% (2005)
China    8%
note: 21.5 million rural population live below the official "absolute poverty" line (approximately $90 per year); and an additional 35.5 million rural population above that but below the official "low income" line (approximately $125 per year) (2006 est.)
Colombia    49.2% (2005)
Comoros    60% (2002 est.)
Congo, Democratic Republic of the    NA%
Congo, Republic of the    NA%
Cook Islands    NA%
Costa Rica    16% (2006 est.)
Cote d'Ivoire    42% (2006 est.)
Croatia    11% (2003)
Cuba    NA%
Cyprus    NA%
Czech Republic    NA%
Denmark    NA%
Djibouti    42% (2007 est.)
Dominica    30% (2002 est.)
Dominican Republic    42.2% (2004)
Ecuador    38.3% (2006)
Egypt    20% (2005 est.)
El Salvador    30.7% (2006 est.)
Equatorial Guinea    NA%
Eritrea    50% (2004 est.)
Estonia    5% (2003)
Ethiopia    38.7% (FY05/06 est.)
European Union    note - see individual country entries of member states
Falkland Islands (Islas Malvinas)    NA%
Faroe Islands    NA%
Fiji    25.5% (FY90/91)
Finland    NA%
France    6.2% (2004)
French Polynesia    NA%
Gabon    NA%
Gambia, The    NA%
Gaza Strip    80% (2007 est.)
Georgia    31% (2006)
Germany    11% (2001 est.)
Ghana    28.5% (2007 est.)
Gibraltar    NA%
Greece    NA%
Greenland    NA%
Grenada    32% (2000)
Guam    23% (2001 est.)
Guatemala    56.2% (2004 est.)
Guernsey    NA%
Guinea    47% (2006 est.)
Guinea-Bissau    NA%
Guyana    NA%
Haiti    80% (2003 est.)
Holy See (Vatican City)    NA%
Honduras    50.7% (2004)
Hong Kong    NA%
Hungary    8.6% (1993 est.)
Iceland    NA%
India    25% (2007 est.)
Indonesia    17.8% (2006)
Iran    18% (2007 est.)
Iraq    NA%
Ireland    7% (2005 est.)
Isle of Man    NA%
Israel    21.6%
note: Israel's poverty line is $7.30 per person per day (2005)
Italy    NA%
Jamaica    14.8% (2003 est.)
Japan    NA%
Jersey    NA%
Jordan    14.2% (2002)
Kazakhstan    13.8% (2007)
Kenya    50% (2000 est.)
Kiribati    NA%
Korea, North    NA%
Korea, South    15% (2003 est.)
Kosovo    37% (2007 est.)
Kuwait    NA%
Kyrgyzstan    40% (2004 est.)
Laos    30.7% (2005 est.)
Latvia    NA%
Lebanon    28% (1999 est.)
Lesotho    49% (1999)
Liberia    80% (2000 est.)
Libya    7.4% (2005 est.)
Liechtenstein    NA%
Lithuania    4% (2003)
Luxembourg    NA%
Macau    NA%
Macedonia    29.8% (2006)
Madagascar    50% (2004 est.)
Malawi    53% (2004)
Malaysia    5.1% (2002 est.)
Maldives    21% (2004)
Mali    36.1% (2005 est.)
Malta    NA%
Marshall Islands    NA%
Mauritania    40% (2004 est.)
Mauritius    8% (2006 est.)
Mayotte    NA%
Mexico    13.8% using food-based definition of poverty; asset based poverty amounted to more than 40% (2006)
Micronesia, Federated States of    26.7% (2000)
Moldova    29.5% (2005)
Monaco    NA%
Mongolia    36.1% (2004)
Montenegro    7% (2007 est.)
Montserrat    NA%
Morocco    15% (2007 est.)
Mozambique    70% (2001 est.)
Namibia    the UNDP's 2005 Human Development Report indicated that 34.9% of the population live on $1 per day and 55.8% live on $2 per day
Nauru    NA%
Nepal    30.9% (2004)
Netherlands    10.5% (2005)
Netherlands Antilles    NA%
New Caledonia    NA%
New Zealand    NA%
Nicaragua    48% (2005)
Niger    63% (1993 est.)
Nigeria    70% (2007 est.)
Niue    NA%
Northern Mariana Islands    NA%
Norway    NA%
Oman    NA%
Pakistan    24% (FY05/06 est.)
Palau    NA%
Panama    28.6% (2006 est.)
Papua New Guinea    37% (2002 est.)
Paraguay    32% (2005 est.)
Peru    44.5% (2006)
Philippines    30% (2003 est.)
Poland    17% (2003 est.)
Portugal    18% (2006)
Puerto Rico    NA%
Qatar    NA%
Romania    25% (2005 est.)
Russia    15.8% (November 2007)
Rwanda    60% (2001 est.)
Saint Helena    NA%
Saint Kitts and Nevis    NA%
Saint Lucia    NA%
Saint Pierre and Miquelon    NA%
Saint Vincent and the Grenadines    NA%
Samoa    NA%
San Marino    NA%
Sao Tome and Principe    54% (2004 est.)
Saudi Arabia    NA%
Senegal    54% (2001 est.)
Serbia    6.5% (2007 est.)
Seychelles    NA%
Sierra Leone    70.2% (2004)
Singapore    NA%
Slovakia    21% (2002)
Slovenia    12.9% (2004)
Solomon Islands    NA%
Somalia    NA%
South Africa    50% (2000 est.)
Spain    19.8% (2005)
Sri Lanka    22% (2002 est.)
Sudan    40% (2004 est.)
Suriname    70% (2002 est.)
Swaziland    69% (2006)
Sweden    NA%
Switzerland    NA%
Syria    11.9% (2006 est.)
Taiwan    0.95% (2007 est.)
Tajikistan    60% (2007 est.)
Tanzania    36% (2002 est.)
Thailand    10% (2004 est.)
Timor-Leste    42% (2003 est.)
Togo    32% (1989 est.)
Tokelau    NA%
Tonga    24% (FY03/04)
Trinidad and Tobago    17% (2007 est.)
Tunisia    7.4% (2005 est.)
Turkey    20% (2002)
Turkmenistan    30% (2004 est.)
Turks and Caicos Islands    NA%
Tuvalu    NA%
Uganda    35% (2001 est.)
Ukraine    37.7% (2003)
United Arab Emirates    19.5% (2003)
United Kingdom    14% (2006 est.)
United States    12% (2004 est.)
Uruguay    27.4% of households (2006)
Uzbekistan    33% (2004 est.)
Vanuatu    NA%
Venezuela    37.9% (end 2005 est.)
Vietnam    14.8% (2007 est.)
Virgin Islands    28.9% (2002)
Wallis and Futuna    NA%
West Bank    46% (2007 est.)
Western Sahara    NA%
Yemen    45.2% (2003)
Zambia    86% (1993)
Zimbabwe    68% (2004)
« Last Edit: January 14, 2010, 07:47:28 AM by PLOY USA#48 »

L'Arts TU :D

E-mail [email protected]

Offline Hin USA~MO

  • AFSer Honor Graduate
  • *
  • Posts: 1581
  • Gender: Male
  • USA~IAH#48
  • Exchange In: United States
  • Generation: #48 (2009-2010)
ไทยดีกว่าเมกาอีก เหอๆ

ที่เค้าบอกว่ายากจนเพราะว่าคนไทยติดวัตถุนิยมมากกว่า
พอเห็นว่าไม่มีเงินซื้อ ของที่ตัวเองอยากได้ ซึ่งมันก็ไม่ได้แพงมาก
ก็บอกว่าตัวเองยากจน ทั้งๆที่ยังมีข้าวให้กิน มีบ้านให้อยู่

นั่นคือเหตุผลจริงๆที่เราเห็นว่า
เงินต่ำกว่าหมื่นบาทหรือมากกว่านิดหน่อยที่ได้ต่อเดือนนั้นมันไม่พอในการใช้ชีวิต
USA#48 Bus3 Independence,Missouri

มงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม,เชียงใหม่-->Truman High School

tannoiz

  • Guest
มันก็มีมาเรื่อยๆ   ดูในรายการวงเวียนชีวิตอย่างงี้บ้าง  สกู๊ปชีวิตบ้าง....อะไรพวกนี้มันก็ยังสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมอยู่ร่ำไป

Offline ฃื่อปั๊บคับ นอร์เวย์ คับ

  • AFSer Honor Graduate
  • *
  • Posts: 2852
  • Gender: Male
  • Klæbu , Norway
  • Exchange In: Norway
  • Generation: #49 (2010-2011)
ไม่จน..แต่ก็ไม่รวย ๕๕

Norway ไม่มีคนจนรึ??

Offline toddinho

  • AFSer Junior
  • *
  • Posts: 146
  • Gender: Male
  • РОССИЯ
    • My Facebook
  • Exchange In: Russia
  • Generation: #48 (2009-2010)
คนไทยไม่จนจริงๆ
คนรัสเซียจนกว่าเยอะ
AC125TU71AFS48RUSSIA!!

Offline PLOY >_<

  • AFSer Honor Graduate
  • *
  • Posts: 1185
  • Gender: Female
  • ★*PLOY*★
    • My Facebook
  • Exchange In: United States
  • Generation: #48 (2009-2010)
มันก็มีมาเรื่อยๆ   ดูในรายการวงเวียนชีวิตอย่างงี้บ้าง  สกู๊ปชีวิตบ้าง....อะไรพวกนี้มันก็ยังสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมอยู่ร่ำไป
ก็คนที่อยู่ใน๑๐%ไง?
แต่ว่าไป๑๐%ก็เยอะอยู่นะ
จาก65ล้านอ่ะ
=_=

L'Arts TU :D

E-mail [email protected]

Offline Hin USA~MO

  • AFSer Honor Graduate
  • *
  • Posts: 1581
  • Gender: Male
  • USA~IAH#48
  • Exchange In: United States
  • Generation: #48 (2009-2010)
มันก็มีมาเรื่อยๆ   ดูในรายการวงเวียนชีวิตอย่างงี้บ้าง  สกู๊ปชีวิตบ้าง....อะไรพวกนี้มันก็ยังสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมอยู่ร่ำไป
ก็คนที่อยู่ใน๑๐%ไง?
แต่ว่าไป๑๐%ก็เยอะอยู่นะ
จาก65ล้านอ่ะ
=_=

ก็6.5ล้านคนไง
USA#48 Bus3 Independence,Missouri

มงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม,เชียงใหม่-->Truman High School

Offline Sajelz [USA2#48]

  • AFSer Junior
  • *
  • Posts: 209
  • Gender: Female
  • ❤ AFS ณ Newfane,NY
    • My Facebook
    • JEL Tidarat Klinhom
  • Exchange In: United States
  • Generation: #48 (2009-2010)
whats do they decide the ppl who poor or rich?? from whats??
☻ Sajelz Strange-R..!~*

Facebook : http://www.facebook.com/jel.klinhom
Hi5 : http://sajelz-strange.hi5.com

My hometown is Chaiyaphum !!