สยาม>>>ไทย
การพิจารณา การเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สยาม มาเป็น ไทย นัดแรกในคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม 2482 นั้น พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นผู้ให้ข้อคัดค้านที่ “เซี่ยงเส้าหลง” เห็นว่า มีเหตุผลที่สุด และยังคง ทันสมัยตลอดกาล จน แม้ใครก็ตามจะนำมาใช้เป็นเหตุผล คัดค้านการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็ยัง พอฟังได้ ท่านกล่าวไว้เมื่อ เกือบ 70 ปีก่อน ดังนี้ “...ใน แง่นโยบายปกครองเราคงลำบากใจบางอย่าง คนในสยามมีหลายชาติ เวลานี้เขารักใคร่สยาม ถึงคราวจะพูดอะไรจะให้กินความส่วนรวมแล้วใช้ว่าไทย เกรงว่าเขาอาจจะน้อยใจได้ อนึ่งถ้าเราเลิกใช้คำสยาม ใช้แต่ไทย จะเกิดความรู้สึกว่าเอาพวกชาติอื่นออก เพราะไม่ใช่ไทย พวกปัตตานีก็ไม่ใช่ไทย ถ้าเราเรียกว่าสยามก็รวมพวกปัตตานีด้วย เขาก็พอใจ ถ้าเปลี่ยนไป อาจไม่ดูดพวกนี้มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้.” และ ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ หมอแว – นพ.แวมาหะดี มาดาโอะ ในฐานะ สนช. ลุกขึ้นอภิปรายในญัตติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนหนึ่งว่าชาวไทย มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้สึกถึงความเป็นคนไทย แม้ว่าเขาจะมี เชื้อชาติมลายู และนับถือ ศาสนาอิสลาม ก็เพราะเข้าแปลความสัญลักษณ์ ธงไตรรงค์ ที่มี 3 สี 5 แถบ ไปในทำนองที่ว่า สีแดง 2 แถบ นั้นแถบหนึ่งหมายถึง คนเชื้อชาติไทย ส่วนอีกแถบหนึ่งนั้นหมายถึง คนเชื้อชาติอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมแผ่นดินเดียวกัน ทำนองเดียวกับ สีขาว 2 แถบ แถบหนึ่งย่อมหมายถึง ศาสนาพุทธ อีกแถบหนึ่งย่อมหมายถึง ศาสนาอื่น ๆ แต่ไม่ว่าจะสีแดงแถบไหนหรือสีขาวแถบใดก็ล้วนมี ศูนย์รวมจิตใจเป็นหนึ่งเดียวกัน อยู่ที่ สีน้าเงินแถบใหญ่แถบเดียว คือ พระมหากษัตริย์ แม้จะพูดกันคนละยุคคนละสมัยคนละเวลาคนละสถานการณ์ก็ตามแต่ทั้ง พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และ หมอแว – นพ.แวมาหะดี มาดาโอะ เห็นร่วมกันในสารัตถะว่า การสร้างชาติ จะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดยอยู่บนพื้นฐานของ ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม จารีต ประเพณี – ด้วยจิตวิญญาณที่เป็นเจ้าของร่วมกัน เท่านั้น